ประวัติความเป็นมา

  • ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด


              สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2520 แต่ก่อนที่จะเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด นั้น ดั้งเดิมก่อนปี พ.ศ. 2520 ได้มีกลุ่มอาจารย์ข้าราชการคณะเกษตรศาสตร์ก่อตั้งขึ้นในรูปของการจัดตั้งวงแชร์ มีสมาชิกประมาณ 30 คน ซึ่งขณะนั้นมี รศ.ดร.สมจิต ยอดเศรณี อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์เป็นหัวหน้า ต่อมา ผศ.เข้มแข็ง สีตะธนี ได้ขอร้องสมาชิกวงแชร์เหล่านี้รวมกันตั้งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด ขึ้น โดยมี ผศ.เข้มแข็ง สีตะธนี เป็นประธานสหกรณ์คนแรกและได้รับใบทะเบียนสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด ดังกล่าว ข้างต้น
              เดิมสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น 3 คณะเกษตรศาสตร์ และมีการย้ายที่ทำการรวม 3 ครั้ง ดังนี้ 

    ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2527 ได้ย้ายที่ทำการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด มาที่อาคาร 1 คณะวิทยาศาสตร์ 

    ครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 ได้สร้างที่ทำการของตนเองที่บริเวณอาคารโรงรถของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และได้ย้ายที่ทำงานมาที่อาคารที่ตนเองสร้าง 

    ครั้งที่ 3 ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่อาคารศูนย์อาหารและบริการชั้น 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เช่าสถานที่ปรับปรุงเป็นที่ทำการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด

    ครั้งที่ 4 สหกรณ์ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ดำเนินการสร้างอาคารสำนักงานเป็นของตนเอง ที่บริเวณสวนมะขาม ข้างปั๊มน้ำมันภายใน ซึ่งได้ย้ายที่ทำการเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 จนถึงปัจจุบัน

     วัตถุประสงค์

    สหกรณ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักการสหกรณ์ รวมทั้งข้อต่อไปนี้

              (1)  ส่งเสริมให้สมาชิกออมทรัพย์ โดยช่วยให้สามารถสงวนส่วนแห่งรายได้ของตนไว้ในทางอันมั่นคง และได้รับประโยชน์ตามสมควร

               (2) ส่งเสริมการช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก

               (3) ให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก

               (4) จัดหาทุนและบริการสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของสมาชิก

               (5)  ร่วมมือกับสหกรณ์อื่น สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์ องค์กรชุมชนภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐเพื่อส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์

               (6)  ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและชุมชน